Auckland : โอ๊คแลนด์

ประชากร ประมาณ 1.3 ล้านคน
ปีที่ก่อตั้ง ประมาณปีค.ศ.1840 โดยกัปตันวิลเลียม ฮ๊อบสัน (William Hobson)
จุดเด่นเมือง สำหรับชาวโอ๊คแลนด์เมืองนี้เป็น “เมืองแห่งเรือ” หรือ “เมืองราชินี เพราะเป็นมหานครที่ใหญ่ที่สุดและมีอนาคตสดใสที่สุดในนิวซีแลนด์ ปัจจุบันโอ๊คแลนด์เป็นศูนย์กลางธุรกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ ซึ่งกำลังเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง เป็นเมืองท่าที่สำคัญและเป็นเมืองแห่งการเล่นเรือใบ นอกจากนี้ยังเพียบพร้อมด้วยทรัพยากรธรรมชาติและบรรยากาศแบบสบายๆ ทำให้โอ๊คแลนด์กลายเป็นเมืองที่ได้รับความนิยมสูงสุดในหมู่นักเรียนต่างชาต

งาน โอ๊คแลนด์เป็นเมืองศูนย์กลางการค้าและเศรษฐกิจ มีสำนักงานต่างๆ มากมาย นอกจากนี้ยังมีร้านค้าและแหล่งท่องเที่ยวอีกมาก ดังนั้นการหางานทำในเมืองนี้จึงไม่ใช่เรื่องยาก ทั้งยังจะได้ค่าแรงค่อนข้างดีอีกด้วย

ท่องเที่ยว โอ๊คแลนด์เป็นเมืองที่มีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย ทั้งพิพิธภัณฑ์ โบสถ์ หอศิลปะ และแหล่งธรรมชาติต่างๆ ดังนี้

Auckland's Sky Tower หอสูงกลางเมืองโอ๊คแลนด์ เป็นที่ตั้งของบ่อนกาสิโน ร้นอาหารและจุดชมวิว
Mount Eden เป็นจุดที่สูงที่สุดของเมืองโอ๊คแลนด์ มียอดเขาเป็นปล่องภูเขาไฟเก่า ทำให้เป็นจุดชมวิวที่ดีที่สุดของเมือง
Kelly Tarlton's โลกใต้น้ำเป็นอุโมงค์ใสมองเห็นปลานานาชนิดและขั้วโลกใต้จำลอง มีนกเพนกวินขั้วโลก
Auckland Zoo สวนสัตว์ ซึ่งรวบรวมสัตว์นานาชนิด รวมทั้งนกกีวี่และกิ้งก่าทอร่า สัตว์เฉพาะของนิวซีแลนด์
Auckland Museum พิพิธภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของนิวซีแลนด์ ตั้งอยู่บนเนินโอ๊คแลนด์โดเมน มองเห็นทิวทัศน์เมืองและทะเล
National Maritime Museum พิพิธภัณฑ์ที่เก็บรวบรวมประวัติศาสตร์ทางทะเลย้อนหลังไปนับ 1,000 ปี
MOTAT พิพิธภัณฑ์การขนส่งและเทคโนโลยี มีการแสดงอินเตอร์แอคทีฟหลายชนิด
Albert House บ้านเก่าในฟาร์ม สร้างขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1863 ในสไตล์วิคตอเรีย
Auckland Art Gallery Toi O Tamaki แกลลอรีเก็บรวมรวมงานศิลป์ของนิวซีแลนด์
Highwic บ้านทรงโกธิค สร้างเมื่อปีค.ศ. 1862
Conwall Park สวนสาธารณะใจกลางเมือง สไตล์คลาสสิค
Western Spring Park สวนสาธารณะสำหรับครอบครัว
Auckland Regional Botanical Garden สวนพฤกษศาสตร์ มีการแสดงดนตรีในหน้าร้อนเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจด้วย
Victoria Park Market ตลาดขายของกระจุดกระจิก คล้ายๆ กับสวนจตุจักรบ้านเรา
One Tree Hill (Maungakiekie) is a volcanic cone which dominates the skyline in the southern inner suburbs.
Ericsson Stadium สเตเดียมที่ใช้แข่งขันรักบี้และซอคเกอร์
Auckland Harbour Bridge สะพานที่ใช้เชื่อมระหว่างเมืองโอ๊คแลนด์กับ North Shore สะพานนี้เป็นสัญลักษณ์ของเมืองนี้ด้วย
นอกจากนี้ยังมีสถานที่สำคัญทางศาสนาอีกหลายแห่งเช่น
Saint Patrick's Cathedral
Auckland Cathedral of the Holy Trinity
Anglican Cathedral Church of St. Mary
Saint Andrew's Church
Auckland Unitarian Church
Auckland Buddhist Centre
Cathedral Church of St. Patrick and St. Joseph
Islamic Centre - Mosque and New Zealand Muslim Association
พื้นที่
16,140 ตารางกิโลเมตร (6,232 ตารางไมล์)
สนามบิน
มีสนามบินนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดในนิวซีแลนด์คือ Auckland International Airport ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางใต้เป็นระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตรหรือ 12.5 ไมล์
การเดินทางระหว่างรัฐ
สามารถเดินทางทางรถบัสและรถโค้ช Stagecoach Auckland ทางรถไฟซึ่งมี 2 สายหลักไปยัง Papakura และ Waitakere นอกจากนี้ยังมีทางเรือเฟอร์รี่อีกด้วย
สภาพภูมิอากาศ
อากาศในเมืองโอ๊คแลนด์ค่อนข้างสบาย ไม่หนาวหรือร้อนเกินไปมากนัก โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 23?C ในเดือนมกราคมและต่ำสุด 13?C ในเดือนกรกฎาคม วันหนึ่งๆ จะมีแดดออกประมาณ 7-8 ชั่วโมง แต่อากาศที่นี่ค่อนข้างเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว และบางครั้งยังอาจจะมีฝนตกลงมาอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

Ban kue Wiman

บทความสั้นๆ ความล้มเหลวคือ แม่ แห่งความสำเร็จ

ความล้มเหลวคือ แม่ แห่งความสำเร็จ เธอ จำความครั้งแรกในชีวิตได้ ว่า เดิน หอบเสื่อและหมอนตามหลังคุณแม่ และถาม ท่านว่า "แมสิพ๊าข่อยไปไส" คุณแม่ตอบเธอว่า "สิพ๊าเจ้าไปหาหม่องอยู่ใหม่" ก่อนหน้าที่เธอ จะเกิดมาดูโลกใบนี้ ครอบครัวเธอค่อนข้างจะมีฐานะในหมู่บ้านและอบอุ่น มีคุณตา คุณยาย คุณพ่อ คุณแม่ และพี่ๆทั้งหลาย เป็นครอบครัวใหญ่ ต่อมาคุณตาป่วยและป่วยหนัก เงินรักษาเริ่มรอยหรอ จึงขายวัวควายเพื่อรักษา ปีถัดมาคุณพ่อป่วย เงินหมด แม่ตัดใจขายบ้านเพื่อรักษาท่าน แต่ทั้งคุณตาและคุณพ่อของเธอ ก็เสียชีวิตลง ครอบครัวขาดผู้ชาย คุณแม่จึงต้องเป็นผู้นำครอบครัว ชีวิตเธอ แม่ ยาย และพี่สาวทั้งสามคน จึงต้องดิ้นรนต่อสู้ต่อไป แต่เธอไม่เคยคิดว่า เธอจนหรือขาดความอบอุ่น เพราะแม่ของเธอเป็นทั้งแม่และพ่อในคนคนเดียวกัน เรียนชั้นประถม เธอซนตามประสาเด็ก จนครูบางคนไม่ชอบหน้า กล่าวหาว่าเธอดื้อ เกเร จนเธอรู้สึกได้ แต่เธอก็ไม่ค่อยชอบหน้าครูคนนี้เหมือนกัน เพราะครูคนนี้ชอบเล่นไพ่ พอเล่นได้ก็อารมณ์ดี ทีเล่นเสียก็มาลงที่เด็ก ซึ่งเธอ เป็นหนึ่งในนั้น .. เธอเรียนจบ ป.6 ด้วยชื่อเสียงที่ไม่ค่อยดีนัก จากครูบางคน เธอสอบไม่เคยได้ที่หนึ่งสักที ต้นปี 2525 สอบเข้าม.1 ที่ มัธยมต้นได้ อันดับสี่ของรุ่น เป็นที่ฮือฮาแก่มวลชนชาวบ้าน ไม่น่าเป็นไปได้ คาใจแก่บางคน ผลจากการสอบได้ที่สี่ ทำให้เธอได้รับทุนมูลนิธิร่วมจิตน้อมเกล้าฯ ส่วนที่หนึ่งถึงสามไม่ได้เพราะเป็นลูกครูและมีฐานะดี ม.1 เทอมต้นเกรดเฉลี่ยได้ 3.59 เป็นอันดับหนึ่งของรุ่นโดยไม่ได้คาดคิด ทำให้เธอมีชื่อกระจายไปทั่วตำบล เพราะเหตุนี้เธอจึงต้องขยันเรียนอย่างหนักและประพฤติ ตัวให้ดี คนในตำบลเริ่มรู้จักเธอแล้ว และกำลังจับตามองเธออยู่ เธอระลึกอยู่เสมอ เพราะรู้ว่าตัวเธอไม่เหมือนลูกชาวบ้านทั่วไป พี่สาวคนโตของเธอเรียนดีแต่ไม่มีโอกาส จบประถมแล้วแม่ส่งไปทำงานทอผ้าที่บางกอก พี่สาวคนกลางและเล็กเรียนมัธยมต้นและปลาย คุณแม่ต้องทำงานหาเงินส่งลูกเรียนคนเดียวตามลำพัง อีกอย่างชาวบ้านก็จับตามอง ว่าจนแล้วยังอยากเรียนอีก จึงทำให้เธอคิดว่าเธอพลาดไม่ได้ แม่ของเธอทำงานหนักมากเพื่อหาเงินส่งให้พี่สาวคนกลางและเล็กเรียน เธอเป็นผู้ชายจึงไม่แปลกนักถ้าคิดอยากจะเรียนและสงสารแม่ เธอจึงทำงานพิเศษหารายไ้ด้ระหว่างเรียนไปด้วย งานที่เธอทำช่วงเรียนมัธยมต้นนั้น ส่วนมากจะเป็นงาน เผาถ่าน ขายปิ๊บละ 8-10 บาท รับจ้างเข็นน้ำ เที่ยวละ 5-8 บาท รับจ้างตัดหญ้า ดายหญ้าสวนอ้อยวันละ 14-25 บาท แปลกแต่จริง เพราะเธอไม่รู้สึกว่า ชีวิตเธอลำบาก สอบเข้าม.4 ที่แก่นนครวิทยาลัย วันที่ประกาศผลสอบ เธอตื่นเต้นและเครียด ดูรายชื่อผู้สอบผ่านจากลำดับท้ายๆก่อน รายชื่อที่ประกาศแผ่นที่สิบย้อนมาถึงแผ่นที่สองไม่มีชื่อเธอ เธอลุ้นมาก แต่ในที่สุดเธอก็เห็นชื่อตัวเองในลำดับที่สอง ไชโยๆๆ เรียน ม.ปลาย ที่ โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย ในเมืองขอนแก่น โดยพักที่ วัดนันทิการาม ตั้งแต่เธอเดินทางเข้าไปเรียนในเมือง ชีวิตเธอได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ไม่ได้อยู่ใกล้ชิดกับแม่ ที่คอยดูแลให้กำลังใจ เธอต้องคิด ตัดสินใจ และทำทุกอย่าง ด้วยตัวของเธอเองชีวิตประจำวันของเธอช่วงนี้คือ อ่านหนังสือตีสามถึงตีห้า ทำหน้าที่ของเด็กวัดรวมทั้งเดินตาม พระบิณฑบาต ตีห้าถึงเจ็ดโมง เรียนแปดโมงถึงสี่โมงเย็น เล่นกีฬาหรืออ่านหนังสือช่วงสีโมง ถึงหนึ่งทุ่ม ทำการบ้านหนึ่งทุ่มถึงสามทุ่ม นอนสามทุ่มถึงตีสาม เป็นกิจวัตร สิ่งที่ขาดไม่ได้ในชีวิตของเธอระหว่างเรียนคือ ต้องทำงานหารายได้ เธอถีบสามล้อรับจ้างทุกคืนวันศุกร์และเสาร์ ได้เงินคืนละประมาณ 30-50 บาท ส่วนกลางวัน เสาร์ อาทิตย์ เธอรับจ้างตัดหญ้าจัดสวน ตามบ้านจัดสรร ที่อาจารย์แนะแนว แนะนำได้รับค่าจ้างวันละ 60-80 บาทหรือแล้วแต่ความอนุเคราะห์จากเจ้าของบ้าน ช่วงพักเที่ยงของวันปกติ รับจ้างทำปกหนังสือที่ห้องสมุดของโรงเรียน เล่มละสองบาทหรือเฉลี่ยเดือนละสองร้อยบาท เธอสอบติดโครงการจุฬาชนบท คณะวิศวกรรมศาสตร์ มีความมุ่งมั่นอย่างมากที่จะเรียนให้จบ เธอยอมรับความผิดพลาด เธอเรียนไม่จบ ตอนที่เธอไปรับเกรด พอรู้ว่าตัวเองรีไทร์ เธอรู้สึกเลื่อนลอยนึกถึงแต่หน้าแม่ เป็นความรู้สึกที่หดหู่ที่สุดในชีวิต จะทำอย่างไรได้เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว ไม่เป็นไร ต้องยอมรับผลของการกระทำ เธอท่องจำให้ขึ้นใจไว้ว่า ความล้มเหลวคือแม่แห่งความสำเร็จ เธอต้องอดทนฟันฝ่าต่อไป เตรียมสอบเอ็นทรานซ์ใหม่ เตรึยมตัวให้พร้อม ดีกว่ามานั่งเสียใจ Entrance ครั้งที่สอง ติดอันดับสอง คณะนิติศาสตร์จุฬา ตัดสินใจเรียนอยู่หนึ่งปี ผลการเรียนก็เป็นที่น่าพอใจ เกรดเฉลี่ย 3.10 แต่ความผูกพันและพื้นฐานในใจ ยังอยากเรียนวิศวฯ เธอนั่งวิเคราะห์ชั่งน้ำหนักว่า ระหว่างการเสียเวลาเพิ่มอีกหนึ่งปี กับการได้ทำในสิ่งที่ต้องการ เธอจะเลือกอะไร รู้...ว่า ทุกสาขาอาชีพมีความสำคัญจะนำมาเปรียบเทียบว่าอาชีพไหนดีกว่ากันไม่ได้ เพราะในสังคมมีความหลากหลาย และในที่สุดเธอตัดสินใจว่า เธอเหมาะที่จะเป็นวิศวกรมากกว่านักกฎหมาย จึงเตรียมตัว Entrance ใหม่อีก เป็นครั้งที่สาม Entrance ครั้งที่สาม ตัดสินใจว่าเรียนที่ไหนก็ได้ขอให้เป็นวิศวกร และเพื่อความมั่นใจ เธอจึงเลือกอันดับหนึ่งที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งอนาคตของเธอ นั่นเอง เวลาที่เสียไปหลายปีนี้ เธอเอาเงินมาจากไหนเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ เธอรู้ เธอไม่อยากผิดพลาดหรืออยากเสียเวลาเลย แต่เพราะไม่รู้อนาคต เธอไม่เสียใจ เธอถือเป็นบทเรียนแห่งชีวิต รายได้ระหว่างที่เธอเรียนมหาวิทยาลัย มาจาก หนึ่งทุนการศึกษา สองเป็นเด็กเสริฟที่ Noodle house แถว สยามสแคว์ วันละ 90 บาท(ช่วงเรียนนิติศาสตร์)ทำเฉพาะวันเสาร์ อาทิตย์ สามรับจ้างสอนพิเศษ นักเรียนม.ปลายวิชาคณิตศาสตร์ ม3-6 ชั่วโมงละ 120-150 บาท(ช่วงเรียนวิศวะ) สี่ทำงานใน Lab ของคณะวิศวกรรมฯหลังเลิกเรียน นี่เป็นงานหลักๆเท่าที่เธอจำได้ และในที่สุด เธอก็ประสบความสำเร็จได้วุฒิ วศบ ไว้หาเลี้ยงชีพ ต่อ..........ฉบับหน้า